เราชนะ ลุ้นครม เคาะเกณฑ์ กลุ่มต่อไปนี้ หมดสิทธิรับเงิน 3500

เราชนะ ลุ้นครม เคาะเกณฑ์ กลุ่มต่อไปนี้ หมดสิทธิรับเงิน 3500

วันที่ 19 มกราคม 2564 กระทรวงการคลังจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณามาตรการ เราชนะ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิดระลอกใหม่ โดยประเด็นที่ต้องจับตาคือ กรณีการนำหลักเกณฑ์ที่เรียกว่า Negative list หรือ คุณสมบัติต้องห้าม มาเป็นเงื่อนไขในการกำหนดคุณสมบัติผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ ลงทะเบียนรับเงินเยียวย า 3,500 บาท เป็นระยะเวลา 2 เดือน รวม 7,000 บาท ผ่าน www.เราชนะ.com เบื้องต้นกระทรวงการคลังกำหนดผู้ที่มีคุณสมบัติต้องห้ามไม่สามารถลงทะเบียนรับเงินเยียวย าเราชนะ ผ่าน www.เราชนะ.com ไว้ 4 กลุ่ม ดังนี้

1.อายุไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์

2. กลุ่มข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ

3. คนรวย ผู้มีรายได้สูง

4. แรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคม

หากดูจากผู้ที่มีคุณสมบัติต้องห้ามไม่สามารถเข้าร่วมเราชนะใน 4 กลุ่ม ขณะนี้ต้องลุ้นว่ากลุ่มคนรวย ผู้มีรายได้สูง ที่จะไม่ได้รับสิทธิจะเป็นอย่างไร ซึ่งเบื้องต้นแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจว่า หลักเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ในการกำหนดคุณสมบัติว่าเป็นคนรว ย ผู้มีรายได้สูง ที่ไม่สามารถลงทะเบียนรับสิทธิเงินเยียวยา 3,500 บาท เราชนะ จะมาจาก 2 ทาง คือ รายได้ต่อปี และเงินฝาก ในส่วนของรายได้ต่อปีที่จะนำมากำหนดว่าใครเป็นคนรวย ผู้ที่มีรายได้สูงไม่สามารถลงทะเบียนเราชนะได้ หากดูจากฐานข้อมูลภาครัฐจะมีแหล่งข้อมูลสำคัญ คือ กรมสรรพากร ที่นำมาใช้จัดเก็บภาษีบุคคลธรรมดา มีทั้งหมด 8 ขั้นดังนี้

1.เงินได้สุทธิต่อปี 0-150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี

2.เงินได้สุทธิต่อปี 150,001-300,000 บาท อัตราภาษี 5%

3.เงินได้สุทธิต่อปี 300,001 - 500,000 บาท อัตราภาษี 10%

4.เงินได้สุทธิต่อปี 500,001-750,000 บาท อัตราภาษี 15%

5.เงินได้สุทธิต่อปี 750,001-1,000,000 บาท อัตราภาษี 20%

6.เงินได้สุทธิต่อปี 1,000,001 - 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25%

7.เงินได้สุทธิต่อปี 2,000,001 - 5,000,000 บาท อัตราภาษี 30%

8.เงินได้สุทธิต่อปี 5,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%

ขณะที่เงินฝากที่จะนำมากำหนดว่าใครจะไม่ได้รับสิทธิเงินเยียวยา 3,500 จากเราชนะ จากการตรวจสอบข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) พบว่า ยอดคงค้างเงินฝาก ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2563 มีทั้งสิ้น 105,421,282 บัญชี แบ่งเป็น

1. ไม่เกิน 50,000 บาท จำนวน 91,710,502 บัญชี

2. เกินกว่า 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท จำนวน 4,117,093 บัญชี

3. เกินกว่า 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 200,000 บาท จำนวน 3,322,907 บัญชี

4. เกินกว่า 200,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท จำนวน 3,060,872 บัญชี

5. เกินกว่า 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท จำนวน 1,482,070 บัญชี

6. เกินกว่า 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000,000 บาท จำนวน 1,584,776 บัญชี

7. เกินกว่า 10,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 25,000,000 บาท จำนวน 93,241 บัญชี

8. เกินกว่า 25,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 50,000,000 บาท จำนวน 27,184 บัญชี

9. เกินกว่า 50,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000,000 บาท จำนวน 12,405 บัญชี

10. เกินกว่า 100,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 200,000,000 บาท จำนวน 5,599 บัญชี

11. เกินกว่า 200,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000,000 บาท จำนวน 3,117 บัญชี

12. ตั้งแต่ 500,000,000 บาทขึ้นไป จำนวน 1,516 บัญชี ทั้งนี้คงต้องลุ้นกันว่าที่ประชุมครม.จะกำหนดรายได้ต่อปีและเงินฝากในบัญชีของกลุ่มคนรวย ผู้มีรายได้สูง ที่จะหมดสิทธิลงทะเบียนเราชนะจะมีรายได้ต่อปี และเงินฝากเกิน เท่าไหร่

ขอบคุณ ฐานเศรษฐกิจ

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ