แรงงานพม่านับแสน เตรียมเข้าไทย

แรงงานพม่านับแสน เตรียมเข้าไทย

วันที่ 19 ธ.ค.63 ที่สำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทย าลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มีเวทีเสวนาเนื่องในวันย้ายถิ่นสากลจังหวัดเชียงราย โดย นายสืบสกุล กิจนุกร นักวิชาการศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ มหาวิทย าลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า แรงงานข้ามชาติ ในเชียงรายมีอยู่ประมาณ 2.4 หมื่นคน ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ แต่ไม่รวมเด็ กและผู้สูงอายุซึ่งทางการไม่นับเป็นแรงงาน และยังไม่นับรวมแรงงานที่ไม่มีเอกสาร

โดยแรงงานข้ามชาติมีส่วนสำคัญด้านเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงราย หากไม่มีก็จะอยู่ย าก ในช่วงนี้มีปัญหาคือแรงงานข้ามแดนย ากเพราะด่านถูกปิด ทำให้มีแรงงานตกค้างจำนวนมาก เพราะไม่มีการ เตรียมการล่วงหน้า จึงเห็นบทบาทของภาคประชาสังคมมากที่เข้าไปช่วยเหลือทั้งคนพม่าที่อยู่ในไทยและคนไทยที่อยู่ในพม่า

ช่วงแรกมีแรงงานพม่าจำนวนมากที่ต้องการกลับประเทศไปกองอยู่ตามวัด ก็ได้เครือข่ายภาคประชาชนเข้าไปช่วยเหลือบริจาคสิ่งของและอาหารการกิน เพราะพวกเขาไม่ได้รับการบริจาคจากภาครัฐเลย รัฐบาลไทยพย าย ามปิดพรมแดนเพื่อไม่ให้เกิดการลักลอบเข้ามาโดยคิดว่าโควิ ดเป็นภัยความมั่นคงจึงให้ทหารไปคุม แต่จริงๆแล้วต้องใช้ภาคประชาชนเฝ้าระวังจะได้ผลดีกว่าหรือไม่ นายสืบสกุล กล่าว

นักวิชาการศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ กล่าวด้วยว่า แรงงานข้ามชาติมีความเสี่ยงมากเรื่องสุขภาพเพราะไม่ได้รับแจกแอลกอฮอล์ล้างมือหรือหน้ากากอนามัยจากภาครัฐ เพราะลึกๆยังถูกมองว่าแรงงานข้ามชาติเป็นภัยต่อความมั่นคงและเข้ามาแย่งงานคนไทย และพยายามสร้างภาพลบให้แรงงานข้ามชาติ

ทั้งๆที่ความจริงคนที่เอาเชื้อเข้ามาคือคนไทยเอง ดังเห็นได้จากคนที่หลบหนีเข้ามาจากชายแดนเชียงราย เช่นเดียวกับที่มีคนไทยติดโควิดที่จังหวัดสมุทรสาคร แต่พยายามเชื่อมโยงไปถึงแรงงานข้ามชาติ ที่สำคัญรัฐบาลก็ยังเน้นให้ความช่วยเหลือคนไทย ทั้งๆที่ไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหนก็ติดโควิดได้ เหมือนๆกัน จึงควรช่วยเหลือคนทุกชาติ ดังนั้นจึงมีข้อท้าทายว่าแรงงานข้ามชาติจะอยู่ต่อในสังคมไทยอย่างไร

นายอดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ กล่าวว่าถึงกรณีพบผู้ป่วยโควิดที่จังหวัดสมุทรสาครว่า ระบบดูแลด้านสุขภาพแรงงานข้ามชาติของไทยดีพอสมควร ดังนั้นจึงต้องค้นหาว่าผู้ป่วยรายนี้ติดโควิดมาจากไหน ที่เป็นปัญหาเพราะเป็นโซนที่มีแรงงานข้ามชาติจำนวนมากและมีความแออัด ทำให้ส่งผลต่อยอดขายอาหารทะเล ขณะเดียวกันควรมีการตรวจสอบว่าแรงงานข้ามชาติยังมีหลักประกันสุขภาพอยู่หรือไม่ หากไม่มีก็ต้องเป็นหน้าที่ของรัฐ โดยคาดว่ามีแรงงานข้ามชาติจำนวนกว่า 1 ล้านคนที่ไม่เข้าระบบประกันสังคม

นายอดิศร กล่าวว่า ประเด็นที่น่ากังวลใจสำหรับแรงงานข้ามชาติคือเมื่อรัฐบาลยังไม่มีมาตการให้แรงงานข้ามชาติที่เดินทางกลับสู่ประเทศต้นทางก่อนหน้านี้ข้ามกลับเข้ามา จึงทำให้เกิดการลักลอบเข้ามาเพราะในประเทศต้นทางไม่มีงาน ประกอบกับสถานการณ์แพร่ระบาดรุนแรงในพม่า

พวกเขาจึงหลบนี้กลับคืนสู่ประเทศไทย แม้ว่าจะมีทหารคุมเข้มตลอดแนวชายแดน แต่ก็ยังหน้าเป็นกังวล นอกจากนี้ยังมีแรงงานข้ามชาติกลุ่มที่เข้ามารับจ้างตามฤดูกาล เช่น การปลูกอ้อยในภาคตะวันออก หรือการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรในภาคตะวันตก ดังนั้นแทนที่จะปล่อยให้พวกเขาแอบเข้ามา รัฐควรจัดทำระบบให้ดี คาดว่าขณะนี้มีแรงงานจากฝั่งพม่ารอกลับเข้ามาประมาณ 1 แสนซึ่งเป็นคนเก่า สิ่งที่รัฐต้องทำคือต้องพิจารณาเรื่องปิดชายแดนใหม่ เพราะการไม่ปล่อยให้เข้ามาเลย ยิ่งสร้างความเสียหาย แต่หากจัดระบบให้ดีขึ้น เช่น ทำให้ค่ากักตัวถูกลง ก็อาจจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น

อีกประเด็นที่น่าห่วงคือหนังสือเดินทางของแรงงานข้ามชาติจำนวนไม่น้อยกำลังหมดอายุ เดิมที่ทางการพม่าก็เปิดศูนย์ให้ต่ออายุที่มหาชัย แต่ตอนนี้ถูกสั่งห้าม อนาคตแรงงานข้ามชาติ 2-3 แสนคน กำลังกลายเป็นคนผิดกฎหมาย นับตั้งแต่ธันวาคมถึงกันยายน ดังนั้นรัฐต้องมีมาตการออกมาแก้ไข เราหวังว่าประเทศต้นทางจะเข้ามาขยายการต่ออายุหนังสือเดินทางให้ ถ้าไม่ได้จริงๆ รัฐบาลก็ควรขยายเวลาตามกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองให้เขาไปเลย เพราะทำให้เขาอยู่ได้ถูกต้อง ตอนนี้เรากำลังขาดแคลนแรงงานกว่า 2-3 แสนคน

เพราะแรงงานข้ามชาติเก่ากลับบ้าน คนใหม่ก็เข้ามาไม่ได้ จึงทำให้เกิดการจ้างงานผิดกฎหมายจำนวนมาก รัฐควรมีการจดทะเบียนใหม่ที่มุ่งเน้นแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในประเทศ รวมถึงดึงแรงงานภายนอกเข้าสู่ระบบนายอดิศร กล่าว ขณะที่ นายสนธยา รัตนวาณิชยกุล ประธานชมรม กรุณาจิตอาสา อำเภอแม่สาย ซึ่งทำงานให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ กล่าวว่าตามแนวชายแดนแม่สายซึ่งเป็นเส้นทางธรรมชาติของไทยและพม่ามีความเข้มงวดขึ้น โดยมีทหารคอยเฝ้าประจำการอยู่ หากมีการข้ามมาโดยไม่ถูกต้องจะถูกล็อกตัวทั้นที รวมทั้งตามหมู่บ้านต่างๆ หากมีคนแปลกหน้าเข้ามาจะต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน หากไม่แจ้งก็จะถูกล็อกตัวเช่นกัน

ส่วนบรรยากาศการค้าขายในแม่สายนั้นเงียบสนิททั้งจุดค้าขายของสองฝั่ง อย่างไรก็ตามยังมีคนไทยเหลืออีก 39 คน ได้ขอข้ามกลับเข้าไปประเทศไทยในวันที่ 21 ธันวาคม ซึ่งต้องถูกกักตัวตามระเบียบของฝ่ายไทย ส่วนคนพม่า 80 คนได้ขอข้ามกลับไปวันที่ 24 ธันวาคม แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดบนฝั่งพม่ายังรุนแรง แต่พวกเขาอยากกลับไปดูแลครอบครัวที่มีสุขภาพไม่ดี บางส่วนไม่มีงานเพราะงานฝั่งไทยลดน้อยลง

แม้ตอนนี้หลายคนเริ่มมีงาน แต่ยังมีคนพม่าในแม่สายอีกไม่น้อยที่ยังลำบาก เพราะไม่มีรายได้ เรายังเอาข้าวสารอาหารแห้งไปแจกเสมอ ตอนนี้มุ่งไปที่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีอยู่ราว 15 คน คนแก่ 20 คนและเด็กๆ 30-40 คน ซึ่งคนแม่สายช่วยกันบริจาค เราพยายามให้ความรู้เรื่องโควิด19 ”นายสนธยา กล่าว นายสนธยา กล่าวว่า แรงงานข้ามชาติที่แม่สายได้มีการตรวจสุ่มตรวจโควิดเสมอ จากหลายพันคน เราอยากให้ราชการเข้าไปช่วยดูแล แต่ลำบากเพราะจำนวนมากเข้าไปโดยไม่ถูกต้อง เขาบอกไม่มีงบประมาณ จึงเป็นหน้าที่ของเราที่เข้าไปช่วย ตอนนี้แรงงานพม่าที่อยู่ในฝั่งแม่สายไม่น่าเป็นห่วงเพราะไม่มีการลักลอบเข้ามาใหม่เนื่องจากทหารตรวจเข้ม

ขอบคุณ ข่าวสด

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ