ไขข้อสงสัย ไม่ยืนตรงเคารพธงชาติ มีความผิด

ไขข้อสงสัย ไม่ยืนตรงเคารพธงชาติ มีความผิด

จากกรณี หญิงทำร้า ยเด็ กนักเรียนหญิงชั้น ม.3 อายุ 15 ปี ที่สถานีรถไฟ จนกลายเป็นที่พูดถึงกันอย่างมาก โดยสาเหตุมาจากหญิงคนดังกล่าวไม่พอใจที่นักเรียนหญิงไม่ยืนเคารพธงชาติ และเข้าไปตักเตือนก่อนมีการโต้เถียงกันจนหญิงดังกล่าวไม่พอใจ แต่เดิมในสมัย จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่ถือว่าเป็นยุค ปฏิวัติวัฒนธรรม มีความพยายามกำหนดวัฒนธรรมให้มีรูปแบบเดียวกัน ในลักษณะ ไทยเดียว จึงมีข้อกำหนดต่างๆออกมา

ภาพเหตุการณ์

โดยหนึ่งในนั้น คือ พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485 ซึ่งใน มาตรา 6 ระบุว่า วัฒนธรรมซึ่งบุคคลจักต้องปฏิบัติตาม นอกจากจะได้กำหนดไว้โดยพระราชบัญญัติแล้ว ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาได้ในกรณีดังต่อไปนี้

1. ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการแต่งกาย จรรย าและมารย าทในที่สาธารณสถานหรือที่ปรากฏแก่สาธารณชน

2. ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติตนและการปฏิบัติต่อบ้านเรือน

3. ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการประพฤติตนอันเป็นทางนำมาซึ่งเกียรติของชาติไทย และพระพุทธศาสนา

4. ความมีสมรรถภาพและมารย าทเกี่ยวกับวิธีดำเนินงานอาชีพ

5. ความเจริญงอกงามแห่งจิตใจและศีลธรรมของประชาชน

6. ความเจริญก้าวหน้าในทางวรรณกรรมและศิลปกรรม

7. ความนิยมไทย

และในมาตรา 15 (5) ผู้ใดฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา ๖ มีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่ง 100 บาท หรือจำไม่เกิน 1เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ

พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๔๘๕

หลังจากนั้นมีกฎหมายลูก คือ พ.ร.ฎ.กำหนดวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 โดย มาตรา 6 ระบุว่า บุคคลทุกคนจักต้องเคารพตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณี คือ

(1) เคารพธงชาติเวลา 08.00 นาฬิกา ทุกวันพร้อมกัน

(2) เคารพธงชาติ ธงไชยเฉลิมพล ธงเรือรบ ธงประจำกองยุวชนทหาร หรือธงประจำกองลูกเสือ เมื่อชักขึ้นหรือลงประจำสถานที่ราชการ เมื่อเชิญมาตามทางราชการ หรืออยู่กับที่ประจำแถวหรือหน่วยทหาร ยุวชนทหาร หรือลูกเสือ

(3) เคารพเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงเคารพอื่นๆ ซึ่งบรรเลงในงานตามทางราชการ ในงานสังคม หรือในโรงมหรสพ

พระราชกฤษฎีกากำหนดวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๔๘๕

ต่อมาในปีพ.ศ.2553 สมัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีการออก พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2553

ซึ่ง กฎหมายดังกล่าวใน มาตรา 3 ระบุว่า ให้ยกเลิก

(1) พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485

(2) พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2486

(3) พระราชบัญญัติเครื่องแบบกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2486

(4) พระราชบัญญัติสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2522

(5) พระราชบัญญัติสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535

ทั้งนี้ ในปีพ.ศ.2553 สมัย นายอภิสิทธิ์ พ.ศ.2553 กฎหมายดังกล่าวใน มาตรา 3 ระบุว่า ให้ยกเลิก

เรียบเรียง mumkhao

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ