ช็อค คนไทยตกงาน 8.3 ล้านคน เศรษฐกิจทรุดหนัก

ช็อค คนไทยตกงาน 8.3 ล้านคน เศรษฐกิจทรุดหนัก

นางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย เวิลด์แบงก์ เปิดเผยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า ได้ออกรายงานเศรษฐกิจไทย คาดว่าจีดีพีไทยปีนี้จะติดลบกว่า 5% จากเดิมที่เคยคาดติดลบ 3 เปอร์เซ็น และน่าจะใช้เวลามากกว่า 2 ปีที่จะกลับไปสู่จีดีพีระดับก่อนที่จะประสบปัญหา CO VIDเนื่องจากผลกระทบของการระบาดของ CO VID โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ มีคนตกงานกระจายไปทั่ว และกระทบต่อครัวเรือนชนชั้นกลางและครัวเรือนที่ยากจน ก่อนเศรษฐกิจไทยจะฟื้นขยายตัวที่ 4.1 เปอร์เซ็น ในปี 64 และ 3.6 เปอร์เซ็นในปี 65 แต่ยังขึ้นอยู่ปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน เช่น การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังอ่อนแอ การท่องเที่ยวที่เปราะบาง รวมถึงการค้าและห่วงโซ่อุปทานที่ยังคงอยู่ในภาวะชะงักงัน

นอกจากนี้ เวิลด์แบงก์ยังประเมินว่าจะมีคนตกงานหรือสูญเสียรายได้จาก CO VID กว่า 8.3 ล้านคน ซึ่งจะทำให้งานมากมายโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการมีความเสี่ยง โดยยังพบว่าจำนวนผู้ที่ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือผู้ที่มีรายได้ต่อวันต่ำกว่า 5.5 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือ 170 บาทต่อวัน จะสูงขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัว โดยเพิ่มขึ้นจาก 4.7 ล้านคนในไตรมาสแรก เป็น 9.7 ล้านคนในไตรมาสที่ 2 ของปี 63 โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนชนชั้นกลางในภาคการผลิตและภาคบริการจะเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว จาก 6 เปอร์เซ็น เป็น 20เปอร์เซ็น

ทั้งนี้ ได้เสนอแนะภาครัฐควรขยายความคุ้มครองทางสังคมเพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มผู้สูงอายุและแรงงานข้ามชาติไม่ได้ถูกมองข้าม และควรให้เงินอุดหนุนแก่กลุ่มที่เปราะบางต่อไป รวมทั้งถ้าเป็นไปได้ ควรเชื่อมโยงการให้เงินอุดหนุนไปกับการฝึกอบรม การให้คำแนะนำ และความสนับสนุนด้านอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างโอกาสในการหารายได้ ขณะที่ระยะปานกลางประเทศไทยควรมีโครงการที่จะให้ประโยชน์ครอบคลุมทั่วทุกด้านเพื่อรองรับการแพร่ระบาดของโรคและวิกฤตการณ์อื่นๆ เช่น ควรเสริมด้วยการมุ่งเป้าโครงการไปที่กลุ่มคนยากจน เป็นต้น

แม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการชะลอการกระจาย CO VID ภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา แต่ผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจนั้นแรง ภาคการท่องเที่ยวซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่า 15 เปอร์เซ็น ของจีดีพี ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการที่ประเทศไทยเกือบจะห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศตั้งแต่เดือน มี.ค.63 ซึ่งพลังของการฟื้นตัวจะขึ้นอยู่กับนโยบายในการรับมือวิกฤติที่มีประสิทธิภาพ เช่น การสนับสนุนครัวเรือนและผู้ประกอบการที่เปราะบาง

หรือทำอย่างไรที่จะช่วยให้ผู้ที่ตกงานสามารถกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อีกครั้ง ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทยระบุ วันเดียวกัน นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท. เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/2563 จะขยายต่ำที่สุดในปีนี้ โดย ธปท.คาดว่าจะหดตัวในระดับ 2 หลัก หรือมากกว่า -10 เปอร์เซ็น แต่ไม่เกิน -20% และคาดว่าทั้งปีจะหดตัว -8.1 ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คาดการณ์ไว้

ทั้งนี้ จากเครื่องชี้เศรษฐกิจในเดือน มิ.ย. เริ่มเห็นสัญญาณปรับตัวดีขึ้น ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจในเดือน พ.ค.น่าจะอยู่ในจุดต่ำสุดแล้ว โดย ธปท.คาดว่าไตรมาส 3/2563 เศรษฐกิจไทยฟื้น ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวแรงพอสมควร และมาตรการคลายล็อกในไทย ทำให้คนเริ่มใช้จ่าย การท่องเที่ยวเริ่มผ่อนคลายมากขึ้น

เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2563 มีโอกาสหดตัว 2 หลัก หรือมากกว่า -10% แต่ไม่รุนแรงถึงขนาดขึ้นต้นด้วยเลข 2 และจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาส 3/2563 และต่อเนื่องในทุกไตรมาส แต่เป็นการหดตัวลดลง"นายดอนกล่าว สำหรับความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ในด้านต่างประเทศ ทุกประเทศก็มองตรงกันว่า เศรษฐกิจโลกจะผ่านจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 2/2563 หลังจากนั้นจะเริ่มฟื้นตัว ถ้าไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น เช่น การระบาดรอบ 2 ทำให้ต้องปิดประเทศหลายที่ กรณีระหว่างจีนกับสหรัฐ และเสถียรภาพระบบการเงินของโลก ที่ในหลายประเทศ ตราสารหนี้เอกชนเริ่มมีการผิดนัดชำระหนี้

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ