แพทย์เผย โรคแอนแทรกซ์ ติดได้จากการหายใจ อยู่ในดินนานเป็น 10 ปี

แพทย์เผย โรคแอนแทรกซ์ ติดได้จากการหายใจ อยู่ในดินนานเป็น 10 ปี

วันที่ 2 พ.ค. 2568 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.วีระวัฒน์ มโนสุทธิ นายแพทยทรงคุณวุฒิและโฆษกกรมควบคุมโรค แถลงกรณีโรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) ว่าโรคแอนแทรกซ์ หรือสมัยก่อนเรียกว่าโรคกาลีเป็นโรคที่ติดเชื้อจากแบคทีเรียในสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เล่น วัว ควาย แพะ แกะ เป็นต้น ซึ่งจะมีอาการแสดงของสัตว์ป่วย มีไข้ ซึม ไม่กินอาหาร หรือมีการเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยมนุษย์สามารถรับเชื้อจากสัตว์ได้ 3 ทางหลัก คือ

1.การสัมผัส ชำแหละเนื้อสัตว์ที่ตายแล้วมีเชื้อแอนแทรกซ์อยู่ ผ่านบริเวณที่มีบาดแผล หลังจากรับเชื้อประมาณ 7 วันจะเริ่มแสดงอาการ เริ่มมีแผล ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้โต 2.การรับประทานเนื้อสัตว์ป่วยแบบดิบ โดยจะติดเชื้อในทางเดินอาหาร มีแผลในลำไส้ มีอาการปวดท้องคล้ายอาหารเป็นพิษ มีไข้สูง หรือติดเชื้อในกระแสเลือด และ 3.การติดเชื้อจากการหายใจเอาสปอร์เชื้อเข้าสู่ร่างกาย แต่เจอได้น้อย โดยสปอร์เชื้อสามารถฝังตัวอยู่ตามพื้นดินที่สัตว์ป่วยอาศัยได้นานเป็นเดือนหรือหลายปี

หากเราไปทำให้สปอร์เชื้อที่อยู่ในดินหรืหญ้ากระจายออกมา แล้วสูดเข้าไปในร่างกายเชื้อก็จะเข้าไปในปอด ก็จะเกิดภาวะแอนแทรกซ์ที่ปอดได้ ดังนั้นมี 3 ทางในการรับเชื้อคือ สัมผัส รับประทาน และหายใจ ดังนั้นพื้นที่ จ.มุกดาหาร และจังหวัดทางภาคอีสานจะต้องระมัดระวัง ให้สังเกตสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะวัว ควาย แพะ แกะ หากมีอาการเจ็บป่วยผิดปกติให้แจ้งปศุสัตว์จังหวัดมาตรวจสอบ ส่วนถ้าท่านป่วยก็ให้รีบมาพบแพทย์ และแจ้งประวัติเสี่ยง เช่น การชำแหละหรือรับประทานเนื้อสัตว์ดิบ

โดยจ.มุกดาหาร มีผู้ป่วยสะสม 2 รายในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 ราย ซึ่งมีประวัติการสัมผัสชำแหละเนื้อวัว ขณะเดียวกัน มีกลุ่มเสี่ยงจากการสัมผัสชำแหละเนื้อวัว ผู้รับประทานเนื้อดิบ และ ผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ชำแหละเนื้อ รวม 638 ราย และทุกรายได้รับยาปฏิชีวนะป้องกันหลังการสัมผัสเชื้อแล้ว ทั้งนี้ การดูแลสัตว์ในพื้นที่เสี่ยงนั้น มีการจำกัดวงของวัวในรัศมี 5 กิโลเมตร พบว่า มีวัว 1,222 ตัว จึงได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไปแล้ว ส่วนวัวที่เข้าข่ายสงสัยป่วยอีก 124 ตัว ได้ทำการฉีดยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาแล้ว

สพ.ญ.เสาวพักตร์ กล่าวว่า สำหรับการติดเชื้อแอนแทรกซ์ในสัตว์นั้น เกิดขึ้นได้กับสัตว์ชนิดอื่นด้วย แต่ในวัว ควาย แพะ แกะ จะมีความไวมากกว่า จึงติดเชื้อได้ง่าย แต่หากเป็นหมู แมว หมา จะมีการทนทานมากกว่า รับเชื้อมาก็ไม่เป็นอะไร ไม่แพร่เชื้อออกไป นอกจากนั้นยังเกี่ยวกับความนิยมของการบริโภคอีกด้วย ทั้งนี้การเฝ้าระวังมีคนจะดำเนินการไปอย่างน้อย 60 วัน แต่ในสัตว์จะมีการให้วัคซีนและเฝ้าระวังต่อเนื่อง 5 ปี โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีสปอร์เชื้อ เพราะสามารถอยู่ในพื้นที่ได้เป็น 10 ปี

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ