ด่วนที่สุด ประกาศแจ้งเตือนทั้งจังหวัด 32 อำเภอ เฝ้าระวังอันตราย

ด่วนที่สุด ประกาศแจ้งเตือนทั้งจังหวัด 32 อำเภอ เฝ้าระวังอันตราย

วันที่ 30 สิงหาคม 2566 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา ได้ออกหนังสือด่วนที่สุด ถึงนายอำเภอทั้ง 32 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เตรียมรับมือกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยา ได้มีประกาศ ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2566 เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยตอนบน มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2566 - 3 กันยายน 2566

โดยร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้ง เพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา คาดว่า วันนี้ จนถึงวันที่ 1 กันยายน 2566 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 -80 และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนวันที่ 2-3 กันยายน 2566 จะมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 และฝนตกหนักบางแห่ง

สำหรับพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำน้อย เสี่ยงขาดแคลนน้ำ และคาดการณ์ว่าจะเกิดสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงอีกรอบ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเร่งดำเนินการสูบน้ำจากแหล่งน้ำดิบต่างๆ หรือจากฝนที่ตกในช่วงนี้

ไปกักเก็บไว้ในแหล่ผลิตน้ำประปาให้เต็มความจุและเพียงพอสำหรับใช้ผลิตประปาไว้อุปโภค-บริโภคต่างๆ ให้เพียงพอ เนื่องจากปริมาณฝนตกในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอย่างมากทั้งๆ ที่ยังอยู่ในช่วงฤดูฝน ซึ่งส่งผลทำให้น้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง และขนาดกลาง 23 แห่งของจังหวัดปริมาตรน้ำลดต่ำลง ล่าสุด ปริมาตรน้ำในอ่างฯ

ทั้ง 27 แห่ง รวมเหลือ 446.33 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือแค่ 36.68 % เท่านั้น และเป็นน้ำใช้การได้เพียง 383.85 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 33.26 % จากปริมาตรน้ำเก็บกักที่เหลือน้อย ประกอบกับสภาพอากาศร้อนจัดในช่วงกลางวัน และฝนทิ้งช่วงนาน ทำให้หลายพื้นที่ของจังหวัดเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ จึงขอให้ประชาชนใช้น้ำอย่างหระหยัด รู้คุณค่า และถ้ามีฝนตกหนักในพื้นที่ ขอให้เก็บสำรองน้ำฝนไว้ใช้ในครัวเรือนด้วย ส่วนพื้นที่ทางการเกษตรนอกเขตชลประทานที่ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก อย่าสูบดึงน้ำจากแหล่งน้ำมาใช้ทำการเกษตร แต่ให้สงวนน้ำไว้ใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภคมาเป็นอันดับแรกก่อน

เรียบเรียง มุมข่าว

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ