กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 7 เตือนฝนตกหนักถึงหนักมาก พื้นที่เสี่ยงเตรียมรับมือ

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 7 เตือนฝนตกหนักถึงหนักมาก พื้นที่เสี่ยงเตรียมรับมือ

วันที่ 28 พ.ค.2566 กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉบับที่ 7 เรื่องฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน มีผลกระทบถึง 30 พ.ค.66 ในช่วงวันที่ 28-30 พฤษภาคม 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศก้มพูชาและเวียดนามตอนล่างจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยและลงสู่อ่าวมะตะบัน ประเทศเมียนมาลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีลมกระโขกแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณภาคเหนือตอนล่างภาคตะวันออกเอียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

ขอให้ประชาชนบริเวณ ดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉบัพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มจังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 28 พฤษภาคม 2566

ภาคเหนือ : จังหวัดตาก สุโขทัย กำแพงเพยร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น กานสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนดรศรีอยุธยาสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัคนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ : จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรีอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ตกระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับลื่นลมบริเวณทะเลอันตามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดย ทะเลอันตามันมีคลื่นสูง 2 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรขอให้ชาวเรือในบริเวณตังกล่าวเตินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเสี่ยงการเตินเรื่อบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2566

เรียบเรียง มุมข่าว

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ