กรมอุตุฯ พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า เจอทั้งฝนทั้งหนาว

กรมอุตุฯ พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า เจอทั้งฝนทั้งหนาว

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 10-16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ในช่วงวันที่ 10 - 13 ก.พ. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดพาความหนาวเย็นจากที่ราบสูงทิเบตและประเทศเมียนมาเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนบน ทำให้ภาคเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน

ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 16 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก จะมีกำลังแรงขึ้น

ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง หลังจากนั้นภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลางรวมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 14 - 16 ก.พ. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ระหว่างวันที่ 10-16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 10 - 14 ก.พ. 66 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 ก.พ. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 37 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5 - 13 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 10 - 13 ก.พ. 66 มีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 38 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 17 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 ก.พ. 66 พายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ขณะที่ช่วงวันที่ 15 - 16 ก.พ. 66 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11 - 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม.

ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 10 - 14 ก.พ. 66 มีอากาศร้อนและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 ก.พ. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 10 - 13 ก.พ. 66 มีอากาศร้อนและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15 - 25 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 ก.พ. 66 พายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ขณะในช่วงวันที่ 15 - 16 ก.พ. 66 อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 25 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) ในช่วงวันที่ 10 - 14 ก.พ. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 ก.พ. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 35 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) ในช่วงวันที่ 10 - 14 ก.พ. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 15 - 16 ก.พ. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส

กรุงเทพและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 10 - 14 ก.พ. 66 มีอากาศร้อนและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 ก.พ. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 25 กม./ชม.

อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุฯ เพื่อเตรียมรับมือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

เรียบเรียง มุมข่าว

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ