เช็กด่วน 34 จังหวัด เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าหลาก

เช็กด่วน 34 จังหวัด เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าหลาก

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาพอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 3 (320/2565) ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 05.00 น. แจ้งว่า หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งเกาะบอร์เนียวมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ตอนล่าง และจะมีกำลังแรงขึ้น คาดว่าจะเคลื่อนเข้าสู่อ่าวไทย ในช่วงวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2565

ขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณปลายแหลมญวน ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ทั้งนี้ มีพื้นที่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยในช่วงระหว่างวันที่ 21-24 พฤศจิกายน 2565 แยกเป็น

พื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง

นครสวรรค์ (อ.แม่วงก์ แม่เปิน)

อุทัยธานี (อ.ห้วยคต บ้านไร่)

นครราชสีมา (อ.ปากช่อง วังน้ำเขียว)

กาญจนบุรี (อ.ทองผาภูมิ สังขละบุรี หนองปรือ บ่อพลอย เลาขวัญ ไทรโยค)

ราชบุรี (อ.สวนผึ้ง ปากท่อ บ้านคา)

สุพรรณบุรี (อ.ด่านช้าง)

ลพบุรี (อ.โคกสำโรง พัฒนานิคม)

สระบุรี (อ.มวกเหล็ก)

นครปฐม (อ.เมืองฯ)

สมุทรปราการ (อ.เมืองฯ บางพลี บางเสาธง)

นครนายก (อ.เมืองฯ)

ปราจีนบุรี (อ.เมืองฯ นาดี)

สระแก้ว (อ.ตาพระยา เขาฉกรรจ์)

ฉะเชิงเทรา (อ.สนามชัยเขต ท่าตะเกียบ)

ชลบุรี (อ.บ้านบึง ศรีราชา บางละมุง)

ระยอง (อ.เมืองฯ แกลง ปลวกแดง)

จันทบุรี (อ.เมืองฯ ขลุง มะขาม ท่าใหม่ นายายอาม เขาคิชฌกูฏ โป่งน้ำร้อน สอยดาว)

ตราด (อ.บ่อไร่ เขาสมิง แหลมงอบ คลองใหญ่ เกาะช้าง เกาะกูด)

เพชรบุรี (อ.เมืองฯ บ้านลาด แก่งกระจาน ท่ายาง ชะอำ)

ประจวบคีรีขันธ์ (อ.เมืองฯ กุยบุรี ทับสะแก บางสะพาน บางสะพานน้อย)

ชุมพร (อ.เมืองฯ ท่าแซะ ปะทิว สวี ทุ่งตะโก หลังสวน พะโต๊ะ ละแม)

สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองฯ ดอนสัก กาญจนดิษฐ์ พุนพิน บ้านนาเดิม บ้านนาสาร ท่าชนะ พนม บ้านตาขุน เกาะสมุย เกาะพะงัน)

นครศรีธรรมราช (อ.เมืองฯ ปากพนัง พระพรหม ขนอม สิชล นบพิตำ ท่าศาลา พิปูน พรหมคีรี ลานสกา ฉวาง ถ้ำพรรณรา ทุ่งใหญ่ นาบอน ช้างกลาง บางขัน ทุ่งสง ร่อนพิบูลย์ จุฬาภรณ์ เฉลิมพระเกียรติ ชะอวด)

พัทลุง (อ.เมืองฯ ป่าพะยอม ศรีบรรพต ควนขนุน ศรีนครินทร์)

สงขลา (อ.เมืองฯ รัตภูมิ จะนะ หาดใหญ่ สะเดา สะบ้าย้อย นาหม่อม นาทวี)

ปัตตานี (อ.โคกโพธิ์)

ยะลา (อ.ยะหา กาบัง บันนังสตา กรงปินัง ธารโต เบตง)

นราธิวาส (อ.ศรีสาคร รือเสาะ จะแนะ)

ระนอง (อ.ละอุ่น)

พังงา (อ.เมืองฯ คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ท้ายเหมือง ตะกั่วทุ่ง ทับปุด)

ภูเก็ต (อ.เมืองฯ ถลาง)

กระบี่ (อ.เมืองฯ ปลายพระยา อ่าวลึก)

ตรัง (อ.เมืองฯ รัษฎา ห้วยยอด นาโยง)

สตูล (อ.เมืองฯ ละงู)

พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง

ชลบุรี (อ.เมืองฯ ศรีราชา เกาะสีชัง บางละมุง สัตหีบ)

ระยอง (อ.เมืองฯ บ้านฉาง แกลง)

จันทบุรี (อ.นายายอาม ท่าใหม่ แหลมสิงห์ ขลุง)

ตราด (อ.เมืองฯ แหลมงอบ คลองใหญ่ เกาะกูด เกาะช้าง)

เพชรบุรี (อ.เมืองฯ บ้านแหลม ท่ายาง ชะอำ)

ประจวบคีรีขันธ์ (ทุกอำเภอ)

ชุมพร (อ.เมืองฯ ปะทิว สวี ทุ่งตะโก หลังสวน ละแม)

สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองฯ ดอนสัก กาญจนดิษฐ์ ท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง เกาะสมุย เกาะพะงัน)

นครศรีธรรมราช (อ.เมืองฯ ขนอม สิชล ท่าศาลา ปากพนัง หัวไทร เชียรใหญ่)

สงขลา (อ.เมืองฯ ระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ สิงหนคร จะนะ เทพา)

ปัตตานี (อ.เมืองฯ หนองจิก ยะหริ่ง ปะนาเระ สายบุรี ไม้แก่น)

นราธิวาส (อ.เมืองฯ ตากใบ)

กอปภ.ก. ได้เน้นน้ำไปยัง 34 จังหวัดเสี่ยงภัย และ กทม. รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่ เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยตามแผนเผชิญเหตุ โดยเฉพาะการติดตามปริมาณฝนสะสมในพื้นที่ การดูแลความปลอดภัยสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภัย การป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าในช่วงที่มีฝนตกและน้ำท่วมขัง รวมถึงการประสานดูแลความปลอดภัยในการเดินเรือในช่วงดังกล่าว

ที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ