ม.อ. พบไทยเป็นที่แรกของโลก ติด CV จากแมว

ม.อ. พบไทยเป็นที่แรกของโลก ติด CV จากแมว

สื่อต่างประเทศ The New York Times ได้มีการเผยแพร่งานวิจัยของประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่เพิ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2565 ผ่านวารสาร Emerging Infectious Diseases ของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐฯ (CDC) โดยมีการระบุว่า ประเทศไทยน่าจะเป็นประเทศแรกที่พบการติด CV-19 ซึ่งคาดว่าเป็นการติดจาก แมวสู่คน ครั้งแรกของโลก

โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เริ่มจากเมื่อวันที่ 4 ส.ค.64 มีพ่อลูกคู่หนึ่ง วัย 64 และ 32 ปี มีอาการและตรวจพบ CV-19 ที่กทม. แต่เนื่องจากเตียงเต็ม จึงถูกส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 8 ส.ค. ซึ่งทั้ง 2 คนได้พาน้องแมวที่เลี้ยงมาด้วย เมื่อมาถึง แมวซึ่งไม่มีอาการ ก็ถูกส่งไปยังโรงพยาบาลสัตว์เพื่อทำการตรวจโดยสัตวแพทย์หญิงวัย 32 ปี ตรวจด้วยการแยงจมูก ซึ่งก็พบผลเป็นบวก

อย่างไรก็ดี ในขณะที่กำลังตรวจ ปรากฏว่าเจ้าเหมียวได้จามใส่สัตวแพทย์ แม้จะมีการป้องกันโดยใส่ถุงมือ หน้ากากอนามัย แต่ไม่ได้ใส่ face shield หรืออุปกรณ์ป้องกันตา

ต่อมา วันที่ 13 ส.ค. หรือ 5 วันหลังจากนั้น ทางสัตวแพทย์หญิง จากเดิมที่ยังสุขภาพดีไม่เคยมีอาการใดๆ กลับพบว่าเริ่มมีอาการของการติด CV-19 เช่น ไอและเป็นไข้ แต่ยังไม่ได้ไปพบแพทย์ จนกระทั่งวันที่ 15 ส.ค. ได้ตรวจพบผลเป็นบวก

ทีมนักวิจัยได้วิเคราะห์การศึกษาลำดับจีโนม (genome sequencing) ประกอบกับระยะเวลาการติด CV-19 ที่ใกล้เคียงกัน พบว่า การติดของทั้งสัตวแพทย์หญิง แมว และเจ้าของอีก 2 คน มีความเกี่ยวข้องกันในทางระบา-ดวิทยา และเนื่องจากสัตวแพทย์หญิงไม่เคยพบกับเจ้าของมาก่อน ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานในครั้งนี้คือ สัตวแพทย์น่าจะติด CV-19 มาจากการที่แมวจามใส่หน้า

ทีมนักวิจัยสรุปทิ้งท้ายว่า การศึกษาครั้งนี้ถือเป็นหลักฐานที่ชี้ถึงการแพร่กระจายจากแมวสู่คน อย่างไรก็ดี อัตราการเกิดของการแพร่กระจายแบบนี้ก็ถือว่าพบได้ไม่บ่อย เพราะแมวมีระยะเวลาการขับสิ่งแปลกปลมอ (viral shedding) ที่สั้นโดยเฉลี่ย คือ 5 วัน

ทั้งนี้ ทาง The New York Times ได้ย้ำความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมเอาไว้ว่า การติด CV-19 ที่มนุษย์จะได้รับจากแมว ยังถือว่ามีความเสี่ยงโดยรวมต่ำอยู่อีกด้วย

ขอบคุณ nytimes,wwwnc.cdc.gov

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ